นิค

นิค
น่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11



การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม ๗ อย่าง  คือ 
) การวิเคราะห์หลักสูตร  
) การวิเคราะห์ผู้เรียน 
 ) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
 ) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ  
)การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ   
) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
แผนการจัดการเรียนรู้
วิชาภาษาไทย ท031101     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    หน่วยที่ 2
หลักภาษาเบื้องต้น     15 ชั่วโมง แผนที่ 1 เสียงในภาษา เวลา 3 ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ 16 ธันวาคม 2554
1. สาระสำคัญ
เสียงในภาษาไทยประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานของการเรียนหลักภาษาไทย เมื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าในเรื่องดีแล้วจะทำ ให้นักเรียนเขียนสะกดคำ ถูกต้อง และสามารถนำ ความรู้นี้ไปเรียนรู้เรื่องพยางค์ คำประโยคในระดับสูงได้
2. ผลการเรียนรู้
นักเรียนจำแนกประเภทของเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ได้
3. เนื้อหา
เสียงในภาษา เสียงในสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์
4. กระบวนการจัดการเรียนรู้
คาบที่ 1-2
4.1 กิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้นักเรียนยืนเป็นวงกลม บอกอักษรไทยตั้ง แต่ ก ฮ คนละ 1 ตัว ในเวลารวดเร็ว ใครบอกช้าหรือบอกซํ้ากับเพื่อน ตาย รอบต่อไปบอกเสียงสระคนละ 1 ตัว ปรบมือให้กับผู้ทีสามารถทำ ได้ถูกต้อง
4.2 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
4.3 ครูตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนโดยถามความรู้พื้นฐานในประเด็นต่อไปนี้
4.3.1 อักษรไทยมีกี่รูปกี่เสียง
4.3.2 สระแท้มีกี่เสียง
4.3.3 จงยกตัวอย่างสระแท้เสียงสั้น
4.3.4 จงยกตัวอย่างสระแท้เสียงยาว
4.3.5 จงบอกเสียงวรรณยุกต์ของชื่อเล่นของตัวเอง
4.4 นักเรียนเลื่อนโต๊ะเรียนออกให้เหลือพื้นที่ว่างตรงกลาง นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมโดยเรียงลำ ดับเลขที่ 1- 25 นำ อุปกรณ์การเรียนเช่น ปากกา ไม้บรรทัด ยางลบไว้ด้านหน้า คนละ 3 ชิ้น
4.5 นักเรียนอ่านทำ ความเข้าใจเรื่อง เสียงสระแท้ 18 เสียง 9 คู่ และสระประสม 3 เสียง ในเวลา 10 นาที
4.6 ครูอธิบายเรื่องเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย 3 เสียง คือเสียงพยัญชนะ สระ(สระแท้ สระประสม) และวรรณยุกต์
4.7 นักเรียนบอกเสียงของสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ในลักษณะต่อไปนี้
4.7.1 บอกเสียงสระแท้ คนละ 1 ตัว เมื่อสระแท้หมดคนต่อไปให้บอกเสียงสระประสม
4.7.2 บอกเสียงพยัญชนะ ก ข ง จ ช ซ - ฮ ตามลำ ดับ
4.7.3 บอกเสียงวรรณยุกต์ของชื่อเล่นตนเองนักเรียนคนใดตอบผิด 1 ครั้ง นำ อุปกรณ์ของตนเองมาวางไว้กลางวง เมื่อถามครบประเด็น ให้ นักเรียนนับอุปกรณ์ของตัวเอง ใครเหลืออุปกรณ์ครบเป็นผู้ชนะ
4.8 ครูสังเกตการตอบของนักเรียนบันทึกนักเรียนที่ตอบไม่ได้ อธิบายให้ความรู้
คาบที่ 3
4.9 นักเรียนแสดงความรู้เดิมเรื่องรูปและเสียงของวรรณยุกต์ โดยให้นักเรียนอาสาพูดอธิบายความรู้เรื่องเสียงของ
วรรณยุกต์ตามที่ตนเองเคยเรียนหรือเคยรู้มา เช่น
4.9.1 วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง
4.9.2 อักษรกลางคำ เป็นผันได้ครบ 5 เสียง
4.9.3 คำ ตายทุกคำ ไม่มีเสียงสามัญ
4.9.4 อักษรตํ่าคำ ตายเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี
4.10 ครูอธิบายให้นักเรียนสังเกตเห็นหลักการผันวรรณยุกต์ของอักษร 3 หมู่
4.11 นักเรียนยืนเป็นวงกลมผันเสียงวรรณยุกต์ชื่อเล่นของตนเอง แล้วบอกครูเรียงตามลำ ดับ ครูสังเกตว่ามีนักเรียนคนไหนบ้างที่ผันชื่อเล่นตัวเองไม่ได้
4.12 นักเรียนสังเกตเสียงวรรณยุกต์ในชื่อจริงของนักเรียนเอง แล้วให้วิ่งเข้ากลุ่มเสียงที่ครูบอก เช่น
   4.12.1 ใครมีชื่อเสียงสามัญออกมา (ให้นักเรียนบอกคำ ที่เป็นเสียงสามัญ)
   4.12.2 ใครมีชื่อเสียงเอกออกมา (ให้นักเรียนบอกคำ ที่เป็นเสียงเอก)
   4.12.3 ใครมีชื่อเสียงโทออกมา (ให้นักเรียนบอกคำ ที่เป็นเสียงโท)
   4.12.4 ใครมีชื่อเสียงตรีออกมา (ให้นักเรียนบอกคำ ที่เป็นเสียงตรี)
              4.12.5 ใครมีชื่อเสียงจัตวาออกมา (ให้นักเรียนบอกคำ ที่เป็นเสียงจัตวา)
4.13 ครูสังเกตและบันทึกข้อมูล
4.14 ครูอธิบายให้ความรู้เรื่อง รูป เสียง และหลักการผันวรรณยุกต์ให้นักเรียนฟัง
4.15 นักเรียนร่วมร้องเพลงและบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำ ในเนื้อเพลง
4.16 แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาแข่งขันบอกเสียงวรรณยุกต์ เมื่อครูเอ่ยคำ ใดออกมาให้นักเรียนตัวแทนบอกเสียงวรรณยุกต์ในเวลาที่รวดเร็ว ใครบอกก่อนได้ 1 แต้ม พร้อมกับให้เรียกชื่อเพื่อนที่สมาชิกของอีกกลุ่มหนึ่งมาเป็นเชลย สมาชิกของใครหมดก่อนเป็นฝ่ายแพ้
4.17 ทุกคนร่วมกันปรบมือให้กับกลุ่มที่ชนะ
4.18 นักเรียนสรุปความรู้เรื่องเสียงในภาษาจดลงสมุด
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ความตั้งใจในการทำ ผลงาน
6. การวัดและประเมินผล
สังเกตความสามารถในการตอบคำ ถาม ความสามารถในการยกตัวอย่าง ความสามารถในการผันวรรณยุกต์
7. สื่อและแหล่งเรียนรู้ แบบเรียน ครู เพลง รักเธอที่หน้าประตู
8. กิจกรรมเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………………………………………………………….................................................................................................